ประวัติวิทยาลัย

สภาพปัจจุบัน

ที่ตั้ง

401 ม.3 ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา 24120

โทรศัพท์

0-3855-4052

โทรสาร

0-3855-4055

Website

www.pc.acth

เนื้อที่

42 ไร่

ประกาศจัดตั้ง

3 ตุลาคม พ.ศ. 2538

ปรัชญาวิทยาลัย

มีวินัย ใฝ่คุณธรรม นำวิชาการ ทำงานเป็นทีม

คำขวัญสำหรับผู้เรียน

เรียนให้รู้ ดูให้จำ ทำให้เป็น เห็นแก่ส่วนรวม

เอกลักษณ์

เป็นศูนย์กลางคุณภาพอาชีวศึกษาแห่งชุมชนบ้านป่าชนบท

อัตลักษณ์

เป็นคนดี มีคุณภาพ ทำงานเป็น

สีประจำวิทยาลัย

สีเขียว – แดงเลือดหมู
สีเขียว หมายถึง ความอุดมสมบูรณ์หรือป่าไม้
สีแดงเลือดหมู หมายถึง รักชาติ

ต้นไม้ประจำวิทยาลัยการอาชีพพนมสารคาม ได้แก่

ต้นชวนชม (Desert Rose; Impala Lily; Mock Azalea) เป็นชื่อของพรรณไม้ที่มี สีสันของดอกสวยงาม เป็นไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพแห้งแล้งมาก จนได้รับสมญาว่า Desert Rose(กุหลาบทะเลทราย) นอกจากนี้ตามความเชื่อของคนไทยชื่อ “ชวนชม” ยังเป็นชื่อที่มีความไพเราะเป็นศิริมงคล และชาวจีนเรียกว่า “ปู้กุ้ยฮวย’ ซึ่งแปลว่า ดอกไม้แห่งความร่ำรวย

ประวัติความเป็นมา

ประวัติวิทยาลัย เมื่อวันที่ 3ตุลาคม พ.ศ.2538ได้มีการประชุมสภาตำบลเกาะขนุน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ณ ห้องประชุมที่ทำการกำนันเกาะขนุนดร.สมคิด ประภาศิริสุลี ประธานสภาตำบลโดยสมาชิกตำบลเกาะขนุนเป็นเอกฉันท์ให้วิทยาลัยการอาชีพพนมสารคามใช้พื้นที่
สาธารณประโยชน์

ขนาดและที่ตั้ง

จำนวน 42 ไร่ ราคาประเมิน 84 ล้านบาทตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะขนุน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทราโดยเห็นชอบจากนายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อขอใช้พื้นที่สาธารณประโยชน์ จัดสร้างวิทยาลัยการอาชีพพนมสารคาม

กรมอาชีวศึกษาได้รับหนังสืออนุมัติ ขอใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์ใน หมู่ที่ 3 ตำบลเกาะขนุน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 42 ไร่ ตามหนังสือที่ มธ.0608/15753 ลงวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2539 ตามวัตถุประสงค์กระทรวงศึกษาธิการ พิจารณาเห็นสมควรให้ขยายการศึกษาวิชาชีพให้กว้างขวางยิ่งขึ้น สอดคล้องเพียงพอกับ ความต้องการของประชาชนในชนบท และตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานใน ท้องถิ่นรวมทั้งก้าวทันการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมส่วนของประเทศงจัดตั้งสถานศึกษา เป็นวิชาชีพประเภท เป็นวิทยาลัยการอาชีพขึ้น เพื่อจัดการศึกษาและฝึกอบรมวิชาชีพ ทุกระดับและประเภทที่ขาดแคลนซึ่งเป็นความ ต้องการของท้องถิ่นรวมทั้งประเทศ อันจะเป็นการเสริมสร้างและพัฒนากำลังตามนโยบายของรัฐ

สภาพชุมชน สัวคม และเศรษฐกิจ

อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลเมืองเก่า, ตำบลดงน้อย อำเภอราชสาส์น
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลเมืองเก่า
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลท่าถ่าน, ตำบลหนองยาว
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลเมืองเก่า

ภูมิประเทศ
สภาพโดยทั่วไป พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีคลองส่งน้ำเล็ก ๆ ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติและที่ชุดโดย
กรมชลประทาน เพื่อนำน้ำไปใช้ในการประกอบการเกษตรและบริโภค

ด้านเศรษฐกิจและการประกอบอาชีพ

การเกษตร
ㆍ หมู่ที่ 1 มีจำนวนครัวเรือนเกษตรกร 133 ครัวเรือน มีพื้นที่ทำนา 900 ไร่ ทำสวน 1,786 ไร่ เลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลา 528 ไร่ เลี้ยงสุกรและไก่ 3,422 ตัว
ㆍ หมู่ที่ 2 มีจำนวนครัวเรือนเกษตรกร 161 ครัวเรือน มีพื้นที่ทำนา 247 ไร่ ทำสวน 746 ไร่ เลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลา 1,016 ไร่ เลี้ยงวัวสุกรและไก่ 700 ตัว
ㆍ หมู่ที่ 3 มีจำนวนครัวเรือนเกษตรกร 127 ครัวเรือน มีพื้นที่ทำนา 334 ไร่ ทำสวน556 ไร่ เลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลา 1,476 ไร่ เลี้ยงวัวสุกรและไก่ 2,163 ตัว

การอุตสาหกรรม
หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
ปั๊มน้ำมันและก๊าช จำนวน 1 แห่ง
ธนาคาร จำนวน 2 แห่ง
โรงสี จำนวน 1 แห่ง
โรงแรม จำนวน 1 แห่ง
โรงมหรสพ จำนวน 1 แห่ง

การคมนาคม การจราจร
การคมนาคมระหว่างตำบลกับชุมชนเมืองได้รับความสะดวก เนื่องจากมีพื้นที่ต่อเนื่องกับเทศบาลตำบลพนมสารคาม และมีทางหลวงหมายเลข 304, 3245, และ 3347 ตัดผ่านพื้นที่ทำให้สะดวกในการเดินทางไปหมู่บ้าน ตำบล และอำเภอข้างเคียง สำหรับการคมนาคมในหมู่บ้านส่วนใหญ่ได้พัฒนาเป็นถนนคอนกรีต และถนนลาดยาง มีเพียงบางส่วนที่เป็นถนนลูกรัง สำหรับใช้ขนส่งผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งชำรุดทรุดโทรมง่ย ตามข้อมูลดังนี้
ㆍถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน 9 สาย รวมระยะทางยาวประมาณ 3,015 เมตร
ㆍถนนลาดยาง จำนวน 10 สาย รวมระยะทางยาวประมาณ 4,240 เมตร
ㆍถนนลูกรัง จำนวน 5 สาย รวมระยะทางยาวประมาณ 8,450 เมตร

การประปา
การประปาส่วนภูมิภาคเข้าถึง จำนวน 3 หมู่บ้าน จำนวนครัวเรือนที่ใช้น้ำประปาคิดเป็นร้อยละ 99.38 มีเพียงบางส่วนใช้น้ำประปาจากหมู่บ้านข้งเคียง เนื่องจากการประปาส่วนภูมิภาคขยายเขตการให้บริการไปไม่ถึง

การโทรคมนาคม
มีโทรศัพท์สาธารณะติดตั้งตามแหล่งชุมชนครบทั้ง 3 หมู่บ้าน
ㆍ มีความสะดวกเนื่องจากอยู่ในพื้นที่การให้บริการของบริษัท ทศท คอร์ปอรเรชั่น จำกัด ครบทั้ง 3 หมู่บ้าน

การไฟฟ้า
จำนวนหมู่บ้านที่ไฟฟ้าเข้าถึง จำนวน 3 หมู่บ้าน จำนวนครัวเรือนที่ใช้ฟฟ้าคิดเป็นร้อยละ 100

แหล่งน้ำธรรมชาติ
คลองท่ลาด 1 สาย
บีง,หนองน้ำ และอื่น ๆ 3 แห่ง (หนองหัวเสือ, หนองปลาหมอ, หนองกุ่ม)
แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
ㆍ บ่อน้ำตื้น 12 แห่ง
ㆍ บ่อโยก 4 แห่ง